อาหารเสริมลดความดันโลหิตสูง

ความดันสูงกินอะไรหาย หลายคนมีคำถามประมาณนี้ต้องการทราบว่ามีอาหารเสริมควบคุมความดันหรือวิตามินลดความดันโลหิตสูงบ้างไหม ตอบได้เลยว่า “มี” ในอาหารเสริมที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงจะมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ที่ช่วยในการทำให้ความดันโลหิตในร่างกายลดลงได้ อันที่จริงถ้าเป็นไปได้ให้ลองพยายามปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตเสียก่อน ถ้าทำไม่ได้หรือไม่ไหวจริงๆ ก็ค่อยหาตัวช่วยจำพวกอาหารเสริมควบคุมความดันหรือวิตามินลดความดันโลหิตสูงมากิน

อาหารเสริมที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง ตัวแรกที่แนะนำคือ แมกนีเซียมจะเป็นตัวทำให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ผู้ป่วยหลายคนที่ได้รับแมกนีเซียมเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอความดันโลหิตจะลดลง แมกนีเซียมที่แนะนำคือ คีเลต แมกนีเซียม(Chelated magnesium) คือแมกนีเซียมที่อยู่ในรูป Amino Acid Chelated

ความดันสูงกินอะไรหาย
วิตามินลดความดันโลหิตสูง

หรือที่เรียกว่า Chelated Magnesium (คีเลต แมกนีเซียม) ช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้นโดย คีเลต คือกระบวนการนำแร่ธาตุที่มีโมเลกุลใหญ่กว่ามาลดขนาดให้เล็กลงเท่ากับกรดอะมิโนหรือโมเลกุลอินทรีย์อื่น ๆ ปริมาณที่แนะนำคือ 200-400 mg/วัน อาจจะแบ่งเป็นกิน 2 ครั้ง(ครั้งละ 200 mg)โดยจะกินหลังอาหารหรือกินตอนท้องว่างก็ได้

แอล-อาร์จินิน จะเป็นสารตั้งต้นที่ทำให้เกิดไนตริกออกไซด์ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว เมื่อหลอดเลือดขยายตัวจึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง ปริมาณแอล-อาร์จินีนที่แนะนำควรกินวันละ 4,000 mg ที่สำคัญคือให้กินตอนท้องว่างจะได้ประโยชน์มากกว่า อาจกินตอนตื่นนอน 2,000 mg และกินตอนก่อนนอน 2,000 mg หากจะกินแอล-อาร์จินีนร่วมกับแมกนีเซียมก็สามารถใช้ร่วมกันได้เลยจะทำให้ลดความดันโลหิตได้ดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากการอักเสบในหลอดเลือดที่มักมีสาเหตุมาจากน้ำตาลและไขมัน เมื่อร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในหลอดเลือดได้แก่ วิตามินซี โคเอนไซม์คิว10 น้ำมันปลา เป็นต้น การที่ร่างกายของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับวิตามินซี น้ำมันปลาและโคเอนไซม์คิว 10 ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดความดันโลหิตได้

วิตามินที่ช่วยลดความดันโลหิตได้แก่ วิตามินดี คนที่ร่างกายขาดวิตามินดีหรือมีวิตามินดีในระดับต่ำมักจะเป็นโรคเรื้อรัง(NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันสูง ฯลฯ สำหรับคนที่มีวิตามินดีในระดับที่เพียงพอจะมีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังได้น้อยมาก หากต้องการลดความดันโลหิตสูงด้วยวิตามินดีแนะนำให้กินวิตามินดี 3 วันละ 5,000 IU เนื่องจากวิตามินดี3 เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันจึงควรกินวิตามินดี3 พร้อมอาหารจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินดี3 ไปใช้ได้ดีขึ้น นอกจากนี้วิตามิน K2 ก็เป็นวิตามินอีกขนิดหนึ่งที่ช่วยในเรื่องลดความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากการอักเสบของหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากมีแคลเซียมไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัวไม่มีความยืดหยุ่น(ความดันสูง) วิตามิน K2 จะเป็นตัวที่ดึงแคลเซียมในหลอดเลือดให้กลับไปสู่กระดูกทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น(ไม่แข็งตัว) ค่าความดันโลหิตจึงดีขึ้นโดยแนะนำให้กินวิตามิน K2 วันละ 100 ไมโครกรัม โดยให้กินพร้อมอาหารเพราะวิตามิน K2เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันนั่นเอง