ความดันโลหิตสูงแค่ไหนถึงอันตราย

โรคความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) มักไม่มีอาการชัดเจนในระยะเริ่มแรก จึงมักถูกขนานนามเรียกว่า “เพชฌฆาตเงียบ” แต่เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นมากๆ หรือเป็นเวลานาน อาจมีอาการ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล การมองเห็นไม่ชัดเจน(เบลอๆ) หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก

ความดันสูงเพราะนอนดึก
นอนดึกอาจทำให้ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงมีกี่ระยะ โรคความดันโลหิตสูงสามารถแบ่งตามระดับความดันโลหิตที่วัดได้ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (AHA) ดังนี้ ความดันโลหิตปกติ (Normal Blood Pressure) 120/80 mmHg ความดันโลหิตเริ่มสูง120-129 / < 80 mmHg ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 130-139 / 80-89 mmHg ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 >140 / > 90 mmHg ความดันโลหิตสูงระดับวิกฤต >180 / >120 mmHg ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที

ความดัน 140 สูงไหม ค่าความดันโลหิต 140 mmHg สำหรับความดันโลหิตตัวบน (Systolic) นั้นถือว่าสูง และจัดอยู่ในระยะของความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 (Hypertension Stage 2) ตามแนวทางของสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (AHA) ควรได้รับการดูแลและรักษาโดยแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและการพักผ่อน การใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

ความดันสูงแค่ไหนถึงอันตราย ค่าความดันโลหิตที่ >180 / > 120 mmHg ถือว่าเป็นอันตรายที่เรียกว่า “ภาวะวิกฤต” จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันทีเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย

ความดันสูงทำให้เวียนหัว
อาการเวียนหัวจากความดันโลหิตสูง

ได้ตลอดเวลาเช่น หลอดเลือดสมองแตก ไตทำงานล้มเหลว ปอดบวมน้ำ หัวใจวาย ในภาวะวิกฤตนี้อาจมีอาการต่างๆ เหล่านี้ได้แก่ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ การมองเห็นไม่ชัด หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน

ความดันสูงแค่ไหนต้องกินยา การพิจารณาดูจากระดับความดันโลหิต สุขภาพโดยรวม โรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยง แนวทางทั่วไปในการพิจารณาใช้ยาลดความดันโลหิตมีดังนี้ ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 (Hypertension Stage 1) อาจพิจารณาเริ่มใช้ยาลดความดันโลหิตหากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคไตเรื้อรัง เบาหวานหรือประวัติครอบครัวมีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 (Hypertension Stage 2) ต้องเริ่มใช้ยาลดความดันโลหิตเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ลดลง ความดันโลหิตสูงระดับวิกฤต (Hypertensive Crisis) ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาทันที และอาจต้องใช้ยาลดความดันโลหิตอย่างเร่งด่วน

โรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสหายไหม โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ส่วนมากแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เพราะเป็นโรคเรื้อรังแต่สามารถควบคุมและจัดการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยา การรักษาโรคความดันโลหิตสูงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือลดลงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงอาจทำได้โดย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันด้วยการใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้นเช่น ลดอาหารประเภทเนื้อ เน้นกินผัก-ผลไม้ ธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก(ไม่อ้วน) ทำตัวให้ผ่อนคลายโดยจัดการความเครียด(นั่งสมาธิ โยคะ) ลด-ละ-เลิก สิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ(เหล้า บุหรี่) หากควบคุมความดันโลหิตโดยการปรับพฤติกรรมไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดความดันโลหิตโดยคำแนะนำจากแพทย์ พบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อติดตามและปรับปรุงการรักษาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่การรักษาและควบคุมอย่างเหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.