การวัดความดันช่วงไหนดีที่สุด ก่อนจะพูดถึงวิธีลดความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วนก็ต้องรู้เกี่ยวกับการวัดความดันโลหิตแบบคร่าวๆ กันก่อนว่า ทำยังไงให้ได้ผลการวัดค่าความดันโลหิตที่แม่นยำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นชนิดเครื่องวัดความดันโลหิต ความรู้เรื่องวิธีใช้เครื่องมือวัดความดันโลหิตและการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการวัดความดันโลหิตเพื่อให้ได้ผลตามความเป็นจริง ช่วงเวลาที่จะวัดความดันโลหิตก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรทราบว่า ควรจะวัดความดันโลหิตช่วงไหนของวันจึงจะดีที่สุด เวลาที่เหมาะสมในการวัดความดันโลหิตคือช่วงเวลาที่คุณรู้สึกผ่อนคลายและมีความสงบและถ้าเป็นไปได้ควรวัดความดันโลหิตในช่วงเวลาเดียวกันทุก ๆ ครั้ง ช่วงเวลาที่
เหมาะสมในการวัดความดันโลหิตคือ ช่วงเช้าหลังจากตื่นนอนประมาณ 30 – 60 นาที ทั้งนี้ควรทำก่อนกินอาหารเมื้อเช้าหรือดื่มกาแฟเพื่อป้องกันการได้รับผลกระทบจากอาหารที่กินทำให้ค่าความดันโลหิตคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เวลาที่เหมาะสมในการวัดความดันโลหิตอาจทำได้อีกช่วงคือ ช่วงเย็นหลังจากเสร็จงาน ทำกิจวัตรประจำวันและร่างกายได้พักจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ในช่วงที่กำลังวัดความดันควรทำตัวให้ผ่อนคลายและควรวัดความดันซ็ำอีกครั้งโดยเว้นระยะห่างจากการวัดครั้งแรกประมาณ 5 -10 นาที แล้วนำผลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยจะทำให้ได้ผลความดันที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เวลาที่ควรหลีกเลี่ยงในการวัดความดันโลหิตคือ หลังการออกกำลังกาย หลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน หลังการสูบบุหรี่ หลังจากการกินอาหารมื้อใหญ่เพราะผลที่วัดได้จะมีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการทำกิจกรรมดังกล่าว
นั่งพักกี่นาทีวัดความดัน ก่อนจะทำการวัดความดันโลหิตควรนั่งพักอย่างสงบเป็นเวลาอย่างน้อย 5-10 นาทีเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวและเพื่อลดผลกระทบจากกิจกรรมที่ทำมาก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง ขับรถ ขึ้นบันได ยกของหนัก ฯลฯ หากวัดความดันหลังการทำกิจกรรมเหล่านี้ทันทีก็อาจทำให้ค่าความดันโลหิตที่ได้สูงกว่าความเป็นจริง
วิธีปฐมพยาบาลความดันสูง เมื่อมีอาการความดันโลหิตสูงแบบเฉียบพลันจำเป็นต้องทำการปฐมพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง สิ่งที่ควรทำในการปฐมพยาบาลมีดังนี้ ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนพักในท่าที่สบายๆ แนะนำให้ผู้ป่วยสูดหายใจลึกๆ ยาวๆ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสะอาดได้แต่่อย่าให้ผู้ป่วยดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงยิ่งขึ้น ไม่ควรให้ผู้ป่วยกินยาลดความดันโดยพละการ การให้ยาลดความดันโลหิตโดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อตรวจสอบระดับความดันโลหิต หากความดันสูงมาก (เช่น สูงกว่า 180/120 mmHg) ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ทันทีและถ้าความดันโลหิตสูงมากจนผู้ป่วยมีอาการเช่น ปวดหัวรุนแรง เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ การมองเห็นภาพไม่ชัด หายใจลำบาก ฯลฯ ควรติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที
วิธีลดความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน การลดความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วนอาจต้องใช้ยาและการดูแลจากแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่ต้องการความระมัดระวังและควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์แต่หากคุณต้องการวิธีเบื้องต้นในการลดความดันโลหิตสูงในบางสถานการณ์ให้ทำตามคำแนะนำดังนี้ ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้า–ออก ลึกๆ ช้าๆ การทำแบบนี้สามารถช่วยลดความตึงเครียดและความดันโลหิตได้และทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่และนั่งพักในที่เงียบสงบ หลีกเลี่ยงจากสิ่งรบกวนและการเคลื่อนไหวที่ทำให้เหนื่อย การดื่มน้ำสะอาดสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ในบางกรณีเนื่องจากน้ำสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ หลีกเลี่ยงการกินอาหารและเครื่องดื่มที่มีเกลือ คาเฟอีนเพราะคาเฟอีนและเกลือเป็นตัวกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ การอาบน้ำอุ่นและการนวดคอ บ่า ไหล่ เบาๆ จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
กาแฟดำช่วยลดความดันได้ไหม กาแฟดำไม่ได้ช่วยลดความดันโลหิตและในทางกลับกันคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟดำสามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ในระยะสั้นโดยเฉพาะในคนที่ไม่ค่อยดื่ม
กาแฟหรือไวต่อคาเฟอีนซึ่งมีงานวิจัยบางส่วนชี้ให้เห็นว่าคาเฟอีนสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ชั่วคราว ผลกระทบของกาแฟต่อความดันโลหิตอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจมีความไวต่อคาเฟอีนมากกว่าและในคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำร่างกายอาจมีการปรับตัวต่อคาเฟอีนทำให้ผลกระทบลดลง
กินชาอะไรช่วยลดความดัน มีชาหลายชนิดที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตด้วยวิธีธรรมชาติ ชนิดของชาที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้มีดังนี้ ชาดำ การดื่มชาดำในปริมาณที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ ชาเขียวมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง เช่น สารคาเทชินจะช่วยในการขยายหลอดเลือดและลดความดันโลหิต ชาดอกชบา (Hibiscus tea) สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เนื่องจากมีสารแอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) และโพลีฟีนอลส์ (Polyphenols) ชากระเจี๊ยบ (Roselle tea) คล้ายกับชาดอกชบาเพราะกระเจี๊ยบมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน ชาคาโมมายล์มีสรรพคุณช่วยในการผ่อนคลายและลดความเครียดซึ่งสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ ชาขิงมีสรรพคุณช่วยขยายหลอดเลือดและปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง ทั้งนี้ควรดื่มชาเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอรวมถึงปฏิบัติตามแนวทางการดูแลสุขภาพที่แนะนำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญและควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มดื่มชาหรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ เพื่อควบคุมความดันโลหิต
วิตามินตัวไหนลดความดัน มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ช่วยลดความดันโลหิตได้แก่ วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด การรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ วิตามินดีมีบทบาทในการควบคุมระบบหลอดเลือดและหัวใจ การขาดวิตามินดีอาจมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง การได้รับแสงแดดเพียงพอและการรับประทานอาหารเสริมหรืออาหารที่มีวิตามินดีสูง (เช่น ไข่ ตับและปลาแซลมอน) ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ โพแทสเซียมช่วยในการขับโซเดียมออกจากร่างกายและช่วยลดความดันโลหิต อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ อะโวคาโด มันฝรั่ง กล้วย ผักใบเขียวและถั่วต่างๆ แมกนีเซียมมีบทบาทในการควบคุมความดันโลหิตโดยการช่วยขยายหลอดเลือดและปรับปรุงการทำงานของระบบหลอดเลือด อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ได้แก่ ธัญพิชไม่ขัดสี ผักใบเขียว เมล็ดพืชและถั่ว กรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบและปรับปรุงการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด แหล่งอาหารที่ดีของโอเมก้า-3 ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน เมล็ดแฟลกซ์และเมล็ดเจีย