วิธีลดความดันโลหิตสูงโดยหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ.

หลัก 3 . 2 . 1 . เป็นวิธีลดความดันโลหิตสูงสำหรับผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน เมื่อก่อนคนมักจะเข้าใจว่า โรคความดันโลหิตสูงจะเกิดขึ้นกับเฉพาะวัยผู้สูงอายุเท่านั้นแต่ในปัจจุบันอายุของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเริ่มขยับเข้ามาเกิดกับกลุ่มคนวัยทำงานมากขึ้น คนอายุ 35 – 40 ปีก็เริ่มเป็นโรคความดันโลหิตสูงกันแล้วทั้งนี้เพราะรูปแบบและพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันจะเป็นตัวเร่งให้คนอายุน้อยเริ่มเป็นโรคความดันโลหิตสูงกันมากขึ้น.

หลัก 3 . 2 . 1 . มีอะไรบ้าง การลดความดันโลหิตสูงโดยใช้หลักนี้จะเน้นที่การปรับลดความดันด้วยอาหารพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตให้ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่ง 3 . นั้นก็ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ ส่วน 2 . นั้นคือการงดในเรื่องของ สุราและสูบบุหรี่. ส่วน 1 . ตัวสุดท้ายนั้นสำหรับกลุ่มคนอายุ 35 – 40 ปีอาจข้ามไปก็ได้เพราะเป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพฟันให้ดี ซึ่งปัญหาสุขภาพฟันมักจะเกิดกับคนในวัยสูงอายุ ดังนั้นสำหรับคนในวัยทำงานก็เน้นที่ 3 .(อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์) กับ 2 .(งดสุราและการสูบบุหรี่) ก็น่าจะเพียงพอแล้ว.

อาหาร(.ที่ 1) คือการลดการกินเค็ม นั่นคือการลดปริมาณโซเดียม(เกลือ)ในอาหารให้น้อยลง เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาหารรสเค็มเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ปริมาณเกลือ(โซเดียม) ที่ร่างกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะได้รับไม่ควรเกิน 6 กรัมต่อวัน(ประมาณ 1 ช้อนชา) ทั้งนี้การกินอาหารต้องระวังเพราะเกลืออาจแฝงตัวอยู่ในอาหารประเภทต่างๆ เช่น อาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปเช่น มาม่า ไส้กรอก อาหารตากแห้ง อาหารหมักดองและอาหารกระป๋องเป็นต้น จึงควรระวังในเรื่องปริมาณเกลือที่จะได้รับเมื่อต้องกินอาหารจำพวกนี้ สิ่งที่ต้องปรับพฤติกรรมเพิ่มในเรื่องอาหารก็คือ เพิ่มการกินผักและผลไม้ให้มากขึ้นก็จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้

ออกกำลังกาย(.ที่ 2) ประเภทของการออกกำลังกายที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตลงได้คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิคได้แก่การเดินเร็ว การวิ่ง การปั่นจักรยาน ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมกับสภาพร่างกายและความชอบของแต่ละคน เพื่อให้การออกกำลังกายมีผลในการช่วยลดความดันโลหิตการออกกำลังกายควรทำอย่างต่อเนื่อง 30 นาทีในแต่ละวัน ใน 1 สัปดาห์ควรออกกำลังกาย 3 – 5 วันเป็นอย่างน้อย ที่สำคัญควรทำอย่างสม่ำเสมอ เน้นที่การทำให้หัวใจเต้นเร็วและมีการสูบฉีดของเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย แนะนำว่าควรออกกำลังกายให้รู้สึกแค่เหนื่อยพอสมควรอย่าหักโหมเกินไป ที่สำคัญสำหรับคนอ้วน( BMI เกิน 23 Kg/m2) และคนที่มีระดับความดันสูงกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือควรปรึกษาแพทย์ก่อน.

อารมณ์(.ที่ 3) คือการทำให้อารมณ์แจ่มใสอยู่เสมอ อย่าเครียด ไม่ว่าการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณจะเจอกับเรื่องที่ทำให้เครียดแต่คุณต้องรู้จักวิธีจัดการความเครียดเหล่านั้น เช่น ถ้าเป็นความเครียดจากการทำงานอาจจัดการได้โดยการรู้จักจัดลำดับงานว่าอะไรควรทำก่อน – หลังตามลำดับความสำคัญของงาน เป็นต้น.

งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ (2 .) ในวัยคนทำงานทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ก็ต้องทำให้ได้หากไม่อยากต้องไปหาหมอและกินยาลดความดันโลหิตไปตลอดชีวิต การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำไห้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้โดยตรง ส่วนการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ในระยะยาวซึ่งจะมีผลกระทบต่อโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นต้องเลิกเหล้า – บุหรี่ให้ได้ อาจขอคำแนะนำจากแพทย์เนื่องจากปัจจุบันนี้มีวิธีทำให้เลิกเหล้า – บุหรี่อย่างได้ผลหลายวิธี. การดูแลสุขภาพฟัน( 1 ,) สำหรับคนในวัยทำงานอาจไม่เน้นในข้อนี้ก็ได้แต่ข้อนี้เหมาะกับผู้สูงวัยเพราะปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุส่วนหนึ่งจะมาจากการกินอาหารได้ไม่เต็มที่(ฟันไม่ดี) ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารทำให้เกิดผลกระทบกับอาการของโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ได้, จะเห็นได้ว่าการใช้หลัก 3 . 2 . 1 . เป็นวิธีลดความดันโดยไม่ใช้ยานั่นเอง(แบบธรรมชาติ).

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.